- 1. เทคนิคการสอนทักษะ การฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
- 2. ทักษะการฟัง หมายถึงความสามารถในการจับประเด็นใจความหลัก จาก สิ่งที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เพราะผู้เรียนต้องเข้าใจสาระสาคัญจากสิ่งที่พูด อารมณ์และความคิดเห็น ของผู้พูด และสามารถตอบสนองระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูด หรือ บริบทของการพูดได้ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งสาคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความ ชานาญ และมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะ สามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสาเร็จ
- 3. การสื่อสารในชีวิตประจาวันนั้น การฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สาคัญ ทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทาการสอน เพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบ อ่านหรือ เขียนได้ ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สาคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟัง อย่างเพียงพอ และจริงจัง คุณค่าของการฟัง เป็นเรื่องสาคัญมากที่เด็กๆ จะต้องฟังภาษาอังกฤษที่ เหมาะกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ ภาษาควรจะง่ายสาหรับ เด็กและอยู่ในระดับปัจจุบัน หรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย ถ้า ระดับยากเกินไป เด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกไปก็ได้
- 4. การฟังในชีวิตประจาวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆ ไป (Casual Listening) การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย (Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทา ความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
- 5. เทคนิควิธีปฎิบัติ สิ่งสาคัญที่ครูผู้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ 1. สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้ นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จาลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคาสั่งครู การฟัง เพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟัง รายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
- 6. 2. กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนาเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
- 7. 1. กิจกรรมนาเข้าสู่การฟัง (Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วน เกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนาให้ผู้เรียนได้มี ข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสาร ที่กาหนดให้ เช่น การทบทวนคาศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวน คาศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฏอีกในสารที่จะได้รับ ฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่ จากการฟัง
- 8. 2. กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง (While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟัง เพื่อความเข้าใจ” กิจกรรม ระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
- 9. ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่าน ประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดย การเขียนหมายเลขลาดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคาสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคาสั่ง ที่ได้ฟังแต่ละประโยค ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียน ฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอน พูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพ นั้นให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตาแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตาแหน่ง ต่างๆ ตามที่ได้ฟัง เป็นต้น
- 10. 3. กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษา ภายหลังที่ได้ฝึก ปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สาหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคาบอกจากประโยคที่ได้ฟัง มาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียน คาศัพท์ สานวน โครงสร้างไวยากรณ์ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะ การพูดสาหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558
ความรู้ภาษาอังกฤษของฉัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น